ทำไมโคสาวจึงควรคลอดลูกครั้งแรกที่อายุ 24 เดือน และแนวทางการเตรียมโคสาว

ทำไมโคสาวจึงควรคลอดลูกครั้งแรกที่อายุ 24 เดือน ?

                อายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรกของโคสาว มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการให้ผลผลิตน้ำนม และศักยภาพการผลิตของฟาร์มโคนม และโคพ่อแม่พันธุ์ โดยอายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรกของโคสาวไม่ควรมากจนเกินไป หรือไม่ควรมากกว่า 24 เดือน เนื่องจากโคสาวนั้นยังไม่มีการให้ผลผลิตซึ่งก่อให้เกิดรายได้กับฟาร์ม  ดังนั้นหากโคสาวมีอายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรกมาก จะส่งผลทำให้มีระยะการให้ผลผลิตสั้น ทำให้เราสูญเสียต้นทุนในการจัดการ ดูแลแม่โคตัวนั้นมากกว่ารายได้จากผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามอายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรกของโคสาวนั้นก็ไม่ควรน้อยจนเกินไป เนื่องจากโคสาวที่อายุน้อยนั้น การพัฒนาส่วนต่างๆของร่างกายอาจจะยังไม่สมบูรณ์ เช่น ความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ และเซลล์เต้านม ซึ่งแน่นอนว่าอาจส่งผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตน้ำนม และปัญหาระบบสืบพันธุ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นการมีอายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรกที่เหมาะสม จะมีผลต่อการลดต้นทุนอาหาร ลดพื้นการให้อาหาร และการจัดการโคสาว ซึ่งเป็นต้นทุนของฟาร์ม และประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตซึ่งเป็นรายได้หลักของฟาร์ม โดย Froidmont et al (2012) กล่าวว่าอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดลูกครั้งแรกของโคสาวที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 24 เดือน ดังตารางด้านล่าง

ที่มา : Froidmont et al (2012) ช่วงอายุที่โคสาวคลอดลูกครั้งแรก (เดือน)
18 – 22 22 – 26 26 – 30 30 – 34 34 – 38
อายุเฉลี่ย ณ วันคลอด (เดือน) 20.8 24.6 27.9 31.9 35.6
จำนวนวันให้นมทั้งหมด (วัน) 1,260 1,287 1,253 1,211 1,161
ปริมาณผลผลิตน้ำนมเฉลี่ยต่อวัน (kg) 26.57 29.34 27.87 26.14 24.67
ปริมาณผลผลิตน้ำนมรวมทั้งหมด (kg)* 33,478.20 37,760.58 34,921.11 31,982.51 28,641.87

*ปริมาณผลผลิตน้ำนมรวมทั้งหมด = ปริมาณผลผลิตน้ำนมเฉลี่ยต่อวัน x จำนวนวันให้นมทั้งหมด

แนวทางการเตรียมโคสาวให้คลอดลูกครั้งแรกที่อายุ 24 เดือน ?

                สิ่งสำคัญในการเลี้ยงโคสาวให้มีการเจริญเติบโตทางด้านโครงสร้าง และมีการพัฒนาระบบต่างๆภายในร่างกายที่สมบูรณ์ คืออาหาร อาหารที่ให้แก่โคควรมีสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของโคในแต่ละระยะ โดยเฉพาะในเรื่องของวิตามิน และแร่ธาตุ เนื่องจากวิตามิน และแร่ธาตุมีความสำคัญต่อการพัฒนา และการทำงานของทุกระบบในร่างกาย สำหรับระบบสืบพันธุ์ของโคสาววิตามิน และแร่ธาตุมีผลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ และพร้อมที่จะสืบพันธุ์  ดังแสดงตัวอย่างในตารางด้านล่าง

  ชนิดของวิตามิน ชนิดของแร่ธาตุ
การพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ A, E โคบอลต์, แมงกานีส, ทองแดง
การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ A, D, E โคบอลต์, แมงกานีส, ทองแดง, ไอโอดีน
การแสดงออกของการเป็นสัด A, D, E ทองแดง, สังกะสี, แมงกานีส, โคบอลต์, ไอโอดีน
การปฏิสนธิของไข่ E ทองแดง, สังกะสี, แมงกานีส, โคบอลต์, ไอโอดีน, ซีลีเนียม

          ดังนั้นการเสริมวิตามิน และแร่ธาตุให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกโค จนถึงโคสาว จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาทางร่างกาย และระบบสืบพันธุ์ ให้พร้อมต่อการผสมติด และพร้อมสำหรับการตั้งท้อง โดยวิตามิน และแร่ธาตุสามารถเสริมได้ง่ายๆ โดยการใช้พรีมิกซ์ผสมในอาหาร หรือหากไม่ได้ผสมอาหารเอง ก็สามารถใช้พรีมิกซ์โรยหน้าบนอาหารข้นก็ได้เช่นกัน  การเสริมวิตามิน และแร่ธาตุนอกจากจะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคจากการขาดวิตามินแร่ธาตุ รวมถึงช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบอื่นๆภายในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และการย่อยอาหารได้อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมวิตามิน และแร่ธาตุ :

  • ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์โคเนื้อ สูตรสำหรับเสริมวิตามิน และแร่ธาตุสำหรับโคเนื้อ Agromix No46
  • ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์โคนม สูตรสำหรับเสริมวิตามิน และแร่ธาตุสำหรับโคนม และโคพันธุ์ Agromix No45
  • ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอินทรีย์ LithoNutri
  • ผลิตภัณฑ์วิตามิน และแร่ธาตุแท่ง (Bolus) Dietevit Excell และ Dietevit Tonic
  • ผลิตภัณฑ์วิตามินอี และซีลีเนียมแบบฉีด Vitamin E50 + Selenium pro inj.
  • ผลิตภัณฑ์เสริมซีลีเนียม และวิตามินอีสำหรับผสมในอาหาร หรือตักให้เป็นรายตัว Selenium E10+

ข้อมูลเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์เสริมวิตามิน และแร่ธาตุ

YouTube :