นวัตกรรมใหม่ในการแก้ไขปัญหาโรคคีโตซิสในโคนม

          โรคคีโตซิส (Ketosis) เป็นโรคทางเมแทบอลิซึมของโคนมขณะที่กำลังให้นมในระยะต้น  (Early lactation) คือในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะในช่วงดังกล่าวโคต้องการพลังงานไปใช้ในการสร้างน้ำนมมาก แต่โคได้รับอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นโคจะมีสมดุลพลังงานเป็นลบ (Negative energy balance, NEB) แสดงดังภาพที่ 1 ซึ่งจะพบว่าน้ำหนักตัวโคจะลดลงในระยะนี้

          เมื่อร่างกายโคได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงานไม่เพียงพอจึงทำให้มีการดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้ ซึ่งจะเกิดการสลายตัวของไขมันที่ตับเพื่อให้ได้พลังงานออกมา สำหรับการเผาผลาญกรดไขมัน (non-esterified fatty acid, NFE) ที่ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดสารคีโตนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อะซิโตอะซิเตท (acetoacetate) ที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นสารคีโตนอีก 2 ชนิด คือ เบต้า-ไฮดรอกซีบิวทีเรท (β-Hydroxybutyrate) และ อะซิโตน (acetone) ซึ่งจะถูกขับเข้าสู่กระแสเลือด หากร่างกายใช้สารนี้ไม่หมดจะทำให้มีสารคีโตนอยู่ในเลือดในระดับที่สูงกว่าปกติ และจะขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะโคมีกลิ่นอะซิโตน รวมถึงลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตนด้วย

ภาพที่ 1 สมดุลพลังงานเป็นลบ (Negative energy balance, NEB)

          เส้นทึบสีดำ คือ ปริมาณน้ำนม (กิโลกรัม)

          เส้นประสีเขียว คือ ปริมาณวัตถุแห้งที่โคกินได้ (กิโลกรัม)

          เส้นทึบมีฟ้า คือ น้ำหนักตัวโคที่เปลี่ยนไป (กิโลกรัม)

          ช่วงสีแดง คือ ช่วงที่สมดุลพลังงานเป็นลบ

ที่มา : https://www.dairygoldagri.ie/farm_focus/nutrition-fertility/

          ซึ่งการขับสารคีโตนออกจากร่างกายจะมีการขับสารประจุบวกออกไปด้วย จึงทำให้สมดุลกรดด่างในร่างกายโคเสียไป และยังทำให้เกิดการสูญเสียน้ำตามมา ซึ่งส่งผลให้โคป่วย นอกจากนี้การสลายตัวของไขมันในปริมาณมาก ยังทำให้ได้กรดไขมันปริมาณมากตามมา แต่หากร่างกายเผาผลาญกรดไขมันไม่ทัน จะทำให้เกิดการสะสมของไตรกลีเซอไรด์ที่ตับ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของโค และการให้ผลผลิตที่ลดลง สำหรับโคที่เกิดโรคคีโตซิสนั้น มีทั้งแบบที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ โดยแบบแสดงอาการจะพบว่า โคซึม ไม่กินอาหาร ผอมอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะแสดงอาการทางประสาท หากเป็นแบบไม่แสดงอาการจะพบเพียงปริมาณน้ำนมที่ลดลงเท่านั้น แต่การเกิดโรคคีโตซิสยังทำให้โคมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ต่างๆตามมา เช่น ไม่เป็นสัด มีถุงน้ำที่รังไข่ หรือ มดลูกอักเสบ เป็นต้น

          ไดเอททีวิท สตาร์ท (Dietevit Start) เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ที่สำหรับโคนมหลังคลอดเพื่อเพิ่มระดับพลังงานในร่างกาย และลดปัญหาการเกิดโรคคีโตซิส ซึ่งอยู่ในรูปแบบแท่ง สามารถกรอกทางปากโค เพื่อให้ไดเอททีวิท สตาร์ทอยู่ในกระเพาะรูเมน โดยไดเอททีวิท สตาร์ทจะค่อยๆปลดปล่อยสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของโค รวมถึงมีไนอะซิน (Niacin) หรือ วิตามินบี 3 ที่ช่วยส่งเสริมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย จึงช่วยลดความเสี่ยงที่โคจะเกิดโรคคีโตซิสในช่วงต้นของการให้นม

          สรุป : โรคคีโตซิสเป็นโรคที่มักพบในช่วงต้นของการให้นมของโคนม เนื่องจากโคได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ จึงต้องมีการสลายไขมันในร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งจะทำให้เกิดสารในกลุ่มคีโตนตามมา สารคีโตนนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของโค และการให้ผลผลิตที่ลดลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของโค สำหรับไดเอททีวิท สตาร์ท เป็นผลิตภัณฑ์วิตามินและแร่ธาตุในรูปแบบแท่ง ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยให้โคนมหลังคลอดได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคคีโตซิสได้

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโคนม:

  • ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์โคนม สำหรับผสมอาหาร Agromix Daily No.45
  • ผลิตภัณฑ์ยีสต์ สำหรับผสมอาหาร Rumen yeast
  • ผลิตภัณฑ์ซีลีเนียมและวิตามินอี สำหรับผสมอาหาร Selenium E10+

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องการเสริมวิตามินและแร่ธาตุในโค :