การปรับปรุงคุณภาพซากในหมูขุน

การเสริมโครเมียมอินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณภาพซากในสุกรขุน

          การเลี้ยงสุกรขุนในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ให้สุกรขุนมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงสูตรอาหารที่ตรงต่อความต้องการของสุกรมากขึ้น ซึ่งการผลิตอาหารสุกรในปัจจุบันก็มีการใช้สารเสริมเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย เช่น การเสริมเอนไซม์  เพื่อช่วยในการย่อยอาหารของสุกร หรือแร่ธาตุที่อยู่ในรูปอินทรีย์ (organic minerals หรือ chelated minerals) ที่มีคุณสมบัติในการนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงก็ได้รับความนิยมในการเสริมในสูตรอาหารสุกรเช่นเดียวกัน

          โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตและไขมันในร่างกาย ซึ่งรูปของโครเมียมที่นิยมใช้กันในอาหารสัตว์จะอยู่ในรูปโครเมียมพิโคลิเนต (Chromium Picolinate) เป็นโครเมียมที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ คือได้จากการรวมตัวของโครเมียมและกรดนิโคตินิค ทำให้เป็นโครเมียมที่สัตว์ดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงกว่าโครเมียมอนินทรีย์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดให้โครเมียมพิโคลิเนต เป็นวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ประเภทสารปรับปรุงคุณภาพซากสัตว์และให้ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ สําหรับสุกรน้ำหนักตั้งแต่ 15 กิโลกรัมถึงส่งตลาด โดยให้มีโครเมียมในอัตราส่วนไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่ออาหารสัตว์ 1 กิโลกรัม

          สำหรับโครเมียมพิโคลิเนตเป็นองค์ประกอบของกลูโคส โทเลอแรนซ์ แฟคเตอร์ (Glucose Tolerance factor; GTF)  ซึ่ง GTF มีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายและลำเลียงกลูโคสกรดอะมิโน และกรดไขมันเข้าสู่เซลล์ เพื่อนำไปเป็นพลังงานและผลผลิตต่อไป ดังนั้นสุกรจึงมีพลังงานในการนำไปใช้สร้างกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นหากมีระดับของ GTF เพิ่มขึ้น และยังช่วยลดพลังงานเหลือที่ก่อให้เกิดการสะสมไขมันหุ้มซากได้อีกทางหนึ่ง

          จากการวิจัยของ Gang และคณะในปีค.ศ. 2000 เกี่ยวกับผลของการเสริมโครเมียมพิโคลิเนตในอาหารของสุกรต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของสุกร โดยจัดทำในสุกร 96 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 38.12 กิโลกรัม/ตัว ให้กินอาหารสุกรรุ่น 42 วัน อาหารสุกรขุน 27 วัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเสริมโครเมียมพิโคลิเนต และกลุ่มที่มีการเสริมโครเมียมพิโคลิเนต 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร พบว่า สุกรกลุ่มที่มีการเสริมโครเมียมพิโคลิเนตมีน้ำหนักสุดท้ายและอัตราการเจริญเติบโตต่อวันที่เพิ่มขึ้น และมี FCR ที่ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในด้านคุณภาพซาก พบว่าสัดส่วนเนื้อแดงและพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันเพิ่มขึ้น สัดส่วนไขมันและความหนาไขมันสันหลังลดลง ดังแสดงในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและการปรับคุณภาพซากของโครเมียมพิโคลิเนตในสุกร

ภาพที่ 1 การวัดพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (Loin eye area) และความหนาไขมันสันหลังที่กระดูกซี่โครงซี่ที่ 10 (Backfat)

Pork Grading Pork Evaluation

ที่มา : https://slideplayer.com/slide/14065469/

          เอจีเอ็ม-โปร (AGM-PRO) เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับปรับปรุงคุณภาพซากที่มีโครเมียมพิโคลิเนตเป็นสารออกฤทธิ์หลัก อีกทั้งยังมีส่วนผสมของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการปรับคุณภาพซากและการให้ผลผลิตที่ดีขึ้น เอจีเอ็ม-โปรได้มีการเสริมแหล่งโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลืองสกัดเพื่อช่วยในการสนับสนุนการสร้างกล้ามเนื้อของสัตว์ด้วย เพื่อให้สุกรมีคุณภาพซากที่ดี มีเนื้อแดงเพิ่มขึ้น และไขมันหุ้มซากลดลง

          สรุป : โครเมียมที่นิยมใช้กันในอาหารสัตว์จะอยู่ในรูปโครเมียมพิโคลิเนต (Chromium Picolinate) ซึ่งเป็นโครเมียมที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ที่สัตว์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงกว่าโครเมียมอนินทรีย์ โดยโครเมียมพิโคลิเนตได้รับการยอมรับว่าเป็นสารเสริมสำหรับปรับปรุงคุณภาพซากที่มีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการสร้างเนื้อแดงและการลดไขมัน 

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสุกร :

  • ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์หมูขุน สำหรับผสมอาหาร Agromix Pig Finisher No.12
  • ผลิตภัณฑ์สารหวานและสารแต่งกลิ่น สำหรับผสมอาหาร TECHNAROMA ZTA SWEET NOTE MILK 4W/4188 Powder
  • ผลิตภัณฑ์เอนไซม์รวมและโปรไบโอติก สำหรับผสมอาหาร Rossproxyme

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องการเลี้ยงสุกรขุน :