Body Condition Score สำคัญอย่างไรกับการเลี้ยงโคนม และโคแม่พันธุ์

          Body Condition Score (BCS) คือการประเมินคะแนนร่างกายโค เป็นการประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายโคทางอ้อม จากการมองเห็น และการสัมผัส บริเวณซี่โครง สวาบ แนวกระดูกสันหลัง สะโพก และโคนหาง โดยการประเมินจะบ่งบอกถึงปริมาณการสะสมไขมัน และกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ซึ่ง BCS ถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตามปริมาณการสะสมของไขมันในร่างกายดังนี้

          ค่า BCS นอกจากจะเป็นตัวชี้วัดถึงความสมบูรณ์ของโคแล้ว ยังเป็นตัวสะท้อนถึงการจัดการฟาร์ม โดยเฉพาะการจัดการด้านอาหารว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะในโคนม ยกตัวอย่างเช่น แม่โคนมหลังคลอด หากมี BCS ต่ำกว่า 2.5 – 3มักทำให้เกิดปัญหาการขาดสมดุลพลังงานในร่างกาย เนื่องจากแม่โคหลังคลอดมีการกินได้ต่ำในขณะที่ความต้องการสารอาหารจำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในการฟื้นตัวหลังคลอด และการให้ผลผลิตน้ำ อีกทั้งการขาดสมดุลพลังงานมักก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาหลายอย่างเช่น ปัญหาเต้านมอักเสบ การลดลงของประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ ผสมติดยาก โดยเฉพาะโคนมในพื้นที่เขตร้อน ที่ความอยากอาหารลดลงเพราะความเครียดจากอากาศร้อน และได้รับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ ทำให้ปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้น

          โดยปัญหาเหล่านี้เราสามารถจัดการและป้องกันได้โดยการประเมินค่า BCS ของแม่โคในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปใช้ในการปรับการให้อาหารให้เหมาะสมกับแม่โคแต่ละระยะ ซึ่งค่า BCS ที่เหมาะสมสำหรับแม่โคในแต่ละช่วงการผลิตมีดังนี้

  • แม่โคนมพักรีด 60 วัน: BCS ควรอยู่ในช่วง. 3.5 – 4
  • ก่อนคลอด 2 สัปดาห์ : BCS ไม่ควรต่ำกว่า 3
  • หลังคลอด 1 เดือน : BCS ควรอยู่ระหว่าง 2.5 – 3
  • ตลอดระยะการให้น้ำนม : BCS ไม่ควรต่ำกว่า 3

          นอกจากการจัดการด้านอาหารที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาการขาดสมดุลพลังงาน หรือพลังงานติดลบในร่างกายของโคได้แล้ว การใช้สารเสริมบางกลุ่มก็มีส่วนที่จะช่วยลดปัญหา หรือลดความรุนแรงของภาวะดังกล่าวได้ โดยสารเสริมดังกล่าวนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม ดังนี้

     1. สารเสริมกลุ่มที่ช่วยส่งเสริมความสมบูรณ์ของกระเพาะหมัก ที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มจำนวนประชากรของจุลินทรีย์ ที่มีส่วนสำคัญในการหมักย่อยอาหาร ยกตัวอย่างเช่น โปรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ อีกทั้งสารเสริมเหล่านี้ยังช่วยลดจำนวนเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร มีผลในการลดการติดเชื้อ และลดปัญหาท้องเสีย ถ่ายเหลว ซึ่งมีผลต่อการลดควมสามารถในการดูดซึมสารอาหารของโค

     2.  สารเสริมที่ช่วยในการเพิ่มความอยาก และความสนใจอาหาร โดยเฉพาะในช่วงที่โคมีความเครียด และมีความอยากอาหารต่ำ เช่น ยีสต์สกัดที่มีส่วนประกอบของกรดกลูตามิคที่ช่วยเพิ่มความอร่อย สารหวานที่ช่วยเพิ่มรสชาติ และสารกลิ่นที่ช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม และช่วยกลบกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของอาหาร

     3.  สารเสริมกลุ่มที่เป็นสารอาหารโดยตรง เช่น พลังงานและโปรตีนไหลผ่านที่ผ่านการเคลือบทำให้ไม่ถูกใช้โดยจุลินทรีย์ สัตว์จึงสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

     4.  สารเสริมกลุ่มที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ยกตัวอย่างเช่น เบต้า-กลูแคน และแมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์ โดยเฉพาะในช่วงหลังคลอด หรือในสภาวะที่โคมีความเครียด โคมักจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่าย ดังนั้นการใช้สารเสริมกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านเชื้อก่อโรคในร่างกาย ทำให้ลดการอักเสบ และลดปัญหาจากการติดเชื้อ

สรุป : การประเมิน BCS ของแม่โคนม และโคแม่พันธุ์ในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ฟาร์มสามารถจัดการกับฝูงโคได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการอาหาร เนื่องจากค่า BCS มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการขาดสารอาหารของโค ซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติ และปัญหาต่างๆมากมาย เช่น แม่โคหลังคลอดฟื้นตัวช้า ปัญหาโทรมหลังคลอด ปัญหาผสมติดยาก และเต้านมอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้การใช้สารเสริมบางตัวนั้นยังมีผลในการช่วยลดปัญหาการขาดสารอาหารของโค หรือช่วนรักษา BCS ของแม่โคได้ หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ที่มีผลในการลดผลกระทบจากการติดเชื้อ และสุขภาพในลำไส้ :

  • ผลิตภัณฑ์ยีสต์สกัดเข้มข้นอุดมไปด้วยเบต้า-กลูแคน และแมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์ และช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ดีในกระเพาะหมัก Rumen Yeast
  • ผลิตภัณฑ์สารหวานและสารกลิ่น Sweet Note Milk
  • ผลิตภัณฑ์เบต้า-กลูแคน, แมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์, โปรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ SynMos

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่า Body Condition Score (BCS) ในโค และอื่นๆ :