ป้องกันและแก้ปัญหารกค้างในโคนม

          รกค้าง คืออาการที่แม่โคมีการขับรกออกมาช้ากว่า 12 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งปกติแล้วแม่โคควรมีการขับรกออกมา 5-6 ชั่วโมงหลังคลอด อาการรกค้าง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในมดลูก ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบเป็นหนอง ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ปัญหารกค้างเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่โคมีปัญหาระบบสืบพันธุ์ กลับสัดช้า และผสมไม่ติด

          สาเหตุ ภาวะรกค้างเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แม่โคมีพลังงานไม่พอในการบีบตัวของมดลูก, แม่โคที่อ้วนเกินไปส่งผลต่อสมดุลฮอร์โมนต่างๆที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และภาวะรกค้างมักจะเกิดกับโคนมมากกว่าโคเนื้อเนื่องจากโคนมมีการให้ผลผลิตที่สูงกว่าโค ทำให้มีความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงานและสารอาหารได้มากกว่า นอกจากนี้การขาดวิตามินแร่ธาตุ ยังส่งผลให้แม่โคมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และไม่พร้อมสำหรับการคลอด

           การแก้ไขปัญหารกค้าง เกษตรกรไม่ควรใช้มือล้วงดึงนำรกที่ค้างออกมาด้วยตัวเอง เพราะอาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายภายในมดลูก และก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมาในภายหลัง ดังนั้นเพื่อให้มีการแก้ไขที่ถูกต้องและลดความเสียหายของระบบสืบพันธุ์ที่อาจเกิดขึ้น เมื่อแม่โคเกิดภาวะรกค้างควรให้สัตวแพทย์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นผู้ที่ดูแลในส่วนของการแก้ปัญหาและการรักษา ซึ่งแม่โคจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และได้รับยาที่ถูกต้อง และเหมาะสม

          การป้องกัน ในฝูงโคที่มีประวัติรกค้างบ่อยๆ ควรมีการจัดการอาหารอย่างเพียงพอ และมีการเสริมวิตามินแร่ธาตุอย่างเหมาะสม โดยมีรายงานว่าการเสริมวิตามินอีร่วมกับการเสริมซีลีเนียมในอาหารโคนมระยะก่อนคลอด พบว่าช่วยลดโอกาสการเกิดรกค้างได้ (Julien et al.1976) ดังนั้นการเสริมวิตามินแร่ธาตุเหล่านี้เพิ่มเติมจึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดรกค้าง และช่วยลดปัญหาระบบสืบพันธุ์อื่นๆได้

           Selenium E10+ คือสารเสริมวิตามินอีและซีลีเนียม ซึ่งมีการทำงานส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนเพศ รวมถึงช่วยบำรุงระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้คลอดง่าย ลดปัญหารกค้าง เป็นสัดตรงรอบ และแสดงอาการเป็นสัดชัดเจน นอกจากนี้ใน Selenium E10+ ยังมีไบโอติน ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกีบ และป้องกันปัญหาการแตกหักของกีบเท้า ช่วยลดปัญหาการเจ็บกีบได้

          สรุป ปัญหารกค้างเป็นปัญหาที่พบมากในโคนมซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อีกทั้งปัญหารกค้างยังส่งผลให้เกิดภาวะการติดเชื้อ, ทำให้เกิดปัญหามดลูกอักเสบ, การกลับสัดผิดปกติ และทำให้อัตราการผสมติดลดลง ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตภายในฟาร์มสูงขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา หรือแก้ไขอย่างเหมาะสม แนวทางการป้องกันอาจทำได้โดยการเสริมวิตามินอีร่วมกับซีลีเนียม ซึ่งมีความสามารถในการส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนเพศ ช่วยลดปัญหารกค้าง ทำให้รอบการเป็นสัดของโคนมเป็นปกติ และมีอัตราการผสมติดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วิตามินอีและซีลีเนียมยังมีบทบาทในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน ทำให้โคนมสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ช่วยป้องกันปัญหาระบบสืบพันธุ์ในโคนม

  • ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์โคนม สำหรับผสมอาหาร Agromix NO.45
  • ผลิตภัณฑ์วิตามินอีและซีลีเนียม แบบฉีด Vitamin E50+Selenium pro inj.
  • ผลิตภัณฑ์วิตามินและแร่ธาตุรูปแบบแท่ง Bolus Dietevit Tonic

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนม