ฆ่าเชื้อ ASF ด้วยยาฆ่าเชื้อแบบไหนดี !!

     ASF หรือ African Swine Fever (โรคอหิวาห์สุกรแอฟริกา) ถึงแม้ฟาร์มสุกรจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้วในปัจจุบัน แต่ ASF ก็ยังคงเป็นโรคสำคัญที่ยังต้องมีการเฝ้าระวัง เนื่องจากเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก หากเกิดการติดเชื้อภายในฟาร์ม ดังนั้นการจัดการระบบป้องกันทางชีวภาพ และการใช้ยาฆ่าเชื้อภายในฟาร์มอย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการระบาดของโรค ถึงแม้ว่าโรค ASF จะมีวัคซีนให้ได้ใช้สำหรับป้องกันโรคในตัวสัตว์แล้วก็ตาม โดยในปี 2020 นักวิจัยชาวโปแลนด์ Malgorzata Juszkiewicz และคณะ ได้ทำการศึกษา และทดสอบประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค ASF ของยาฆ่าเชื้อจำนวน 8 ชนิด ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ที่ต่างกันในท้องตลาด เพื่อหาสารฆ่าเชื้อที่เหมาะสมต่อการใช้ป้องกันโรค ASF สำหรับฟาร์ม โดยยาฆ่าเชื้อทุกชนิดจะถูกใช้ในอัตราการละลายแนะนำต่ำสุดของผลิตภัณฑ์ ทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส และให้มีระยะสัมผัสเชื้อ 30 นาที ซึ่งผลที่ได้แสดงในตารางด้านล่าง

     จากผลการทดสอบ พบว่ายาฆ่าเชื้อแต่ละชนิดนั้นมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณเชื้อ ASF ที่แตกต่างกันไป โดยความสามารถในการลดปริมาณของเชื้อไวรัส ASF จะถูกประเมินโดยใช้ค่า Logarithmic reduction (log) ซึ่ง ค่า log ที่สูงขึ้น จะสอดคล้องกับความสามารถในการลดปริมาณเชื้อไวรัส ASF ของยาฆ่าเชื้อ ดังภาพ

     โดยการประเมินในครั้งนี้ ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ASF จะต้องมีความสามารถในการลดเชื้อได้ 99.99% หรือมีค่า log4 ขึ้นไป จึงจะจัดว่าเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่อเชื้อไวรัส ASF และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในฟาร์ม

     จากตารางผลการทดสอบ พบว่ายาฆ่าเชื้อที่สามารถลดเชื้อ ASF ได้มากกว่า log4 หรือฆ่าเชื้อได้ 99.99% ได้แก่ โซดาไฟ, กลูตารอลดีไฮด์, คลอรีน และโพแทสเซียม เพอร์ออกซีโมโนซัลเฟต แต่อย่างไรก็ตามโซดาไฟ และ กลูตารอลดีไฮด์ เป็นยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ระคายเคืองรุนแรง จึงไม่สามารถให้สัมผัสตัวสัตว์ได้ และแนะนำให้ใช้สำหรับการเตรียมโรงเรือน หรือใช้ฆ่าเชื้อภายนอกโรงเรือนเท่านั้น ในขณะที่คลอรีนสามารถสัมผัสตัวสัตว์ได้ แต่การใช้เป็นเวลานานมักก่อให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้เช่นกัน ส่วนยาฆ่าเชื้อที่มีสารออฤทธิ์โพแทสเซียม เพอร์ออกซีโมโนซัลเฟต เนื่องจากผลผลิตสุดท้ายในกระบวนการฆ่าเชื้อ คือ ออกซิเจน ทำให้ปลอดภัย สามารถสัมผัสตัวสัตว์ได้ โดยไม่เป็นพิษกับสัตว์ และตกค้าง จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการฆ่าเชื้อขณะที่สัตว์อยู่ในโรงเรือน ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และใช้เป็นโปรแกรมสำหรับป้องกันโรคในฟาร์ม

ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องผลการฆ่าเชื้อ และการจัดการระบบป้องกันความปลอดภัยทางชีวภาพ:

  • ผลิตภัณฑ์ยาฆ่าเชื้อแบบผง Stalosan F
  • ผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์สำหรับลดค่า pH และลดปริมาณเชื้อก่อโรคในน้ำดื่ม Kingly acid

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ส่วนเกี่ยวข้องผลการฆ่าเชื้อ และการจัดการระบบป้องกันความปลอดภัยทางชีวภาพ

YouTube :  คลิปนี้อยากให้ดู การควบคุม เชื้อโรคในฟาร์ม ทำง่าย ได้ประโยชน์มากกว่าที่คิด https://www.youtube.com/watch?v=zyzanhWtkpU&t=89s