ไก่ให้ไข่ดี ไม่มีท้องเสีย ด้วยกรดอินทรีย์ละลายในน้ำดื่ม

          โรคต่างๆในไก่ไข่สามารถส่งผลเสียต่อการปริมาณผลผลิตไข่และคุณภาพของไข่ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางตรงคือโรคที่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ หรือในทางอ้อมคือโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพของไก่ไข่ ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดถุงลมอักเสบอาจส่งผลให้รังไข่และท่อนำไข่ติดเชื้อได้ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ที่ส่งผลให้ไก่เกิดอาการท้องเสีย ก็มีผลทำให้ไก่ไข่ให้ไข่ได้น้อยลงและคุณภาพไข่ลดลงได้เช่นเดียวกัน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเชื้อ Salmonella และEscherichia coli ที่มักพบได้ในการเลี้ยงไก่ไข่ และส่งผลกระทบต่อการให้ไข่

ภาพที่ 1 Salmonella

(ที่มา : https://www.biozentrum.unibas.ch/news/detail/a-catch-22-vaccine-against-salmonellosis)

Salmonella (ซัลโมเนลลา)

          เชื้อซัลโมเนลลาที่เกี่ยวข้องในสัตว์ปีกส่วนใหญ่อยู่ในสปีชีส์ Salmonella enterica แต่มีซีโรวาร์ที่แตกต่างกันไป โดย S. Gallinarum (ก่อโรคไทฟอยด์) และ S. Pullorum (ก่อโรคขี้ขาว) ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดไก่ ส่วน S. Enteriditis และ S. Typhimurium ที่ก่อให้เกิดโรคพาราไทฟอยด์ในไก่ เป็นเชื้อที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์หากรับประทานเข้าไป

          โดยทั่วไป ไก่ที่มีอายุน้อยจะไวต่อการติดเชื้อซัลโมเนลลามากกว่าไก่ที่โตเต็มที่แล้ว เริ่มแรกมักพบอาการท้องเสีย ส่วน S. Gallinarum และ S. Pullorum ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด จะส่งผลต่อผลผลิตไข่ที่ลดลง ตลอดจนทำให้ไก่ป่วย และเพิ่มอัตราการตาย (Shivaprasad, 2000) อีกทั้งสามารถพบการติดเชื้อในรังไข่ได้ (Berchieri et al., 2001) มีการศึกษาพบว่าการติดเชื้อ S. Enteritidis ยังเพิ่มอัตราการเกิดรอยร้าวบนไข่ด้วย (Guard-Bouldin and Buhr, 2006)

ภาพที่ 2 Escherichia coli

(ที่มา : https://time.com/5240137/cdc-e-coli-romaine-lettuce/)

Escherichia coli or E. coli (เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อี โคไล)

เชื้อ Escherichia coli เป็นสปีชีส์หนึ่งของจีนัส  Escherichia ซึ่ง E. coli ทำให้เกิดโรคโคไลบาซิลโลซิส (Colibacillosis) ในสัตว์ปีกส่วนใหญ่ โดยไก่อายุน้อยจะมีความอ่อนไหวกับเชื้อมากที่สุด E. coli โดยปกติมักพบในลำไส้ของสัตว์ปีก และสามารถส่งผ่านไปยังไข่ได้ด้วยการปนเปื้อนของมูลไปยังผิวเปลือกไข่

          E.coli ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ของไก่ไข่ เนื่องจากเป็นสาเหตุของการเกิดโรคโคไลบาซิลโลซิส ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดท่อนำไข่อักเสบ (Trampel et al., 2007) ปกติในสัตว์ปีกจะพบ E. coli ได้หลายซีโรไทป์ในสัตว์ปีก และมักทำให้ไก่มีอาการท้องเสีย และการเจริญเติบโตช้าลง แต่เฉพาะ APEC (Avian Pathogenic Escherichia coli) เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรครุนแรง และทำให้ท่อนำไข่และช่องท้องอักเสบ (Landman and Cornelissen, 2006)

           ในน้ำดื่มของสัตว์นับว่าเป็นแหล่งในการแพร่เชื้อก่อโรคที่ผู้เลี้ยงอาจไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ดังนั้นการดูแลน้ำดื่มให้ปราศจากโรคก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ไก่ไข่ห่างไกลจากการได้รับเชื้อก่อโรคที่ส่งผลลบต่อทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบสืบพันธุ์ได้ Kingly acid เป็นผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์เข้มข้น สำหรับละลายในน้ำดื่มของสัตว์ ใช้สำหรับช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารของสัตว์ นอกจากนี้กรดอินทรีย์ยังมีประสิทธิภาพในการเพิ่มความเป็นกรดในน้ำ ทำให้น้ำนั้นไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อก่อโรคต่างๆ ได้ ช่วยให้ไก่ไข่มีสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี และเมื่อไก่มีสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์  ทำให้สามารถให้ไข่ได้ดี

         จากการวิจัยของ Nanjing Agricultural University สาธารณรัฐประชาชนจีน ในไก่ไข่ 16,000 ตัว ที่อายุ 16 สัปดาห์ แบ่งเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ

                         1. กลุ่มควบคุม ไม่มีการใช้สารเสริม

                         2. กลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid 1% ในน้ำดื่มทุกวัน เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน

                         3. กลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid 1% ในน้ำดื่มวันเว้นวัน เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน

                         4. กลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid 1% ที่ 16-18 สัปดาห์, 30-31 สัปดาห์ ทุกวัน เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน

          จากผลการวิจัยที่อายุ 32 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid  แบบทุกวัน และแบบวันเว้นวัน มีอัตราการให้ไข่ น้ำหนักไข่  และ FCR ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้สารเสริม ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 : ผลของการใช้ Kingly acid ในไก่ไข่

กลุ่ม อัตราการให้ไข่ (%) น้ำหนักไข่ (กรัม) การกินต่อตัว (กรัม/วัน) FCR
   1. กลุ่มควบคุม 85.31 43.54c 158.3 4.32
   2. Kingly acid ทุกวัน 86.40 45.77a 148.7 3.80
   3. Kingly acid วันเว้นวัน 85.75 44.91ab 140.0 3.67
   4. Kingly acid เป็นช่วง 85.53 44.35bc 164.0 4.33

*ตัวอักษร abc ที่แตกต่างกัน แสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : จากการผลการวิจัยพบว่า การใช้ Kingly acid ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์สำหรับละลายในน้ำดื่ม ช่วยให้ไก่ไข่มีอัตราการให้ไข่ที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักไข่ที่เพิ่มขึ้น และ FCR ลดลง จึงช่วยให้ผู้เลี้ยงมีกำไรที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงที่ลดลง

ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการบำรุงระบบสืบพันธุ์ และสุขภาพของไก่ไข่ :

           ผลิตภัณฑ์ซีลีเนียมและวิตามินอี สำหรับผสมอาหาร Selenium E10+

           ผลิตภัณฑ์ซีลีเนียมและวิตามินอี สำหรับละลายในน้ำดื่ม APSA Polivitesel

           ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์ไก่ไข่ สำหรับผสมอาหาร Agromix Layers No.23

           ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย สำหรับผสมอาหาร ESO100

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงระบบสืบพันธุ์ และสุขภาพของไก่ไข่ :

           หายสงสัย ทำไมต้องใช้สารเสริมแบบผสมน้ำ https://www.youtube.com/watch?v=IJvkFEYDMLo

           ต้องดู!! ไข่ดก ไข่นาน ทำยังไงดี? ใช้สารเสริมอะไรได้บ้างhttps://www.youtube.com/watch?v=9_VgZtDk40E

           สารเสริมช่วยย่อย “แบบผสมน้ำ” ดีกว่ายังไง? ต้องดู!! https://www.youtube.com/watch?v=MrYfTbYAzwI