เอนไซม์รวมและโปรไบโอติกช่วยเพิ่มผลผลิตไข่

          ในปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่มีการใช้วัตถุดิบอาหารหลักเป็นวัตถุดิบกลุ่มพลังงาน เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว ข้าวสาลี และมันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบกลุ่มนี้จัดอยู่ในสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งคาร์โบไฮเดรตจะมีองค์ประกอบทั้งหมด 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่เป็นแป้ง (Starch) และส่วนที่ไม่ใช้แป้ง (Non‐starch polysaccharides: NSP)  NSP ที่พบมากในพืช ได้แก่ เซลลูโลส (Cellulose) อะราบิโนไซแลน (Arabinoxylan) เบต้ากลูแคน (Beta-glucan) เป็นต้น

          ซึ่งปริมาณ NSP ในพืชแต่ละชนิดจะมีไม่เท่ากัน แต่ที่สำคัญคือ สำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สัตว์ปีกและสุกร จะไม่มีเอนไซม์ที่สามารถย่อย NSP ได้เลย ดังนั้นการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มาจากพืชจะมีส่วนที่ไก่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากไม่สามารถย่อยและดูดซึม NSP ได้

          NSP ยังมีคุณสมบัติในการอุ้มนํ้าและพองตัวเป็นวุ้น ซึ่งสามารถขยายหรือพองตัวได้ถึง 10-25 เท่า และจะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆ ในกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารที่สัตว์กินเข้าไปมีลักษณะหนืดคล้ายเจล โดยความหนืด (viscosity) ที่เกิดขึ้น

          ส่งผลกระทบกับตัวสัตว์ คือ ลดการจับกันระหว่างเอนไซม์กับอาหารอื่นๆ ทำให้การย่อยได้ลดลง ส่งผลให้อาหารถูกขับออกเป็นมูลเพิ่มขึ้นโดยที่สัตว์ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสารอาหารนั้น และความข้นหนืดของอาหาร จะทำให้อาหารเหลืออยู่ที่ทางเดินอาหารส่วนท้ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ก่อโรค หากจุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ไก่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเพิ่มขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน

          นอกจากนี้การใช้วัตถุดิบที่มาจากพืช ยังต้องคำนึงถึงไฟเตท (Phytate) ซึ่งไฟเตท คือ รูปของฟอสฟอรัสที่สัตว์กระเพาะเดี่ยวไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากสัตว์กระเพาะเดี่ยวไม่มีเอนไซม์ไฟเตส (Phytase) ที่ใช้ย่อยไฟเตท อีกทั้งไฟเตทยังมักจับจับกับแร่ธาตุที่มีประจุบวก เช่น แคลเซียม, แมกนีเซียม, สังกะสี, เหล็ก เป็นต้น เกิดเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ ตกตะกอน ทำให้ไก่ขาดแร่ธาตุดังกล่าว อีกทั้งไฟเตทสามารถจับกับโปรตีนและขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารลดลง จึงส่งผลต่อการผลิตของไก่ตามมา ซึ่งการแก้ไขปัญหาเรื่องการย่อยของวัตถุดิบอาหารสัตว์มักจะใช้การเสริมเอนไซม์ลงไปในสูตรอาหาร เช่น เอนไซม์สำหรับย่อย NSP (Non-starch polysaccharide degrading enzymes: NSPase) และเอนไซม์ไฟเตส เพื่อช่วยให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้เพิ่มขึ้น

          รอสโปรไซม์ (Rossproxyme) เป็นผลิตภัณฑ์เอนไซม์รวม ที่มีทั้งเอนไซม์ย่อยแป้ง (Amylase) เอนไซม์สำหรับย่อย NSP และเอนไซม์ไฟเตสที่ช่วยในการย่อยวัตถุดิบอาหาร นอกจากนี้รอสโปรไซม์ยังมีโปรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพทางเดินอาหารที่สมบูรณ์สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้วัตถุดิบอาหาร เนื่องจากสัตว์สามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นตามมา จากผลการใช้ในไก่ไข่สายพันธุ์ Hyline ที่อายุ 40 สัปดาห์ พบว่าการใช้รอสโปรไซม์เสริมในอาหารปริมาณ 300 กรัม/ตัน มีผลผลิตไข่และน้ำหนักไข่ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กินอาหารน้อยลง ซึ่งแสดงถึงกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตไข่ที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าอาหารที่ลดลง รวมถึงมีอัตราการตายของไก่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้มีการเสริมรอสโปรไซม์และกลุ่มที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการเสริมรอสโปรไซม์ในอาหารไก่ไข่

1 กลุ่มยาปฏิชีวนะ มีการใช้ Penicillin 12 กรัม  Zinc Bacitracin 52 กรัม และ Streptomycin Sulphate 36 กรัม

2 กลุ่มรอสโปรไซม์ ปริมาณ 300 กรัม/ตัน

3 ปริมาณอาหารที่กินต่อมวลไข่ 1 กิโลกรัม

          สรุป : การใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มาจากพืช ต้องคำนึงถึงสารต้านโภชนะต่างๆ เช่น NSP และไฟเตท ซึ่งสัตว์กระเพาะเดี่ยวอย่างเช่น สัตว์ปีกและสุกร ไม่สามารถย่อยสารจำพวกนี้ได้ ดังนั้นการใช้เอนไซม์จึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการย่อยของวัตถุดิบเหล่านี้ ซึ่งรอสโปรไซม์นอกจากจะมีเอนไซม์รวมหลายชนิดแล้ว ยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ช่วยเรื่องสุขภาพทางเดินอาหารอีกด้วย  จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตไข่ได้อีกทางหนึ่ง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการผลิตของไก่ไข่ :

  • ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์ สำหรับผสมอาหาร Agromix Layer No.23 พรีมิกซ์ไก่ไข่
  • ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย สำหรับผสมอาหาร ESO100
  • ผลิตภัณฑ์วิตามินอีและซีลีเนียม สำหรับละลายในน้ำดื่ม APSA Polivitesel
  • ผลิตภัณฑ์แคลเซียมอินทรีย์ สำหรับผสมอาหาร LithoNUTRI

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร :

  • ทำไมต้องใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์ #เอนไซม์ #สารเสริมช่วยย่อย   https://www.youtube.com/watch?v=arkIxNCdDqo
  • #โปรไบโอติกส์ คืออะไร สำคัญยังไง และมีประโยชน์ยังไงกับสัตว์ ไปดูกันเลย!!  https://www.youtube.com/watch?v=28rjJLpYHhU&t=149s