ปัญหากรดเกินในกระเพาะ หรือ acidosis แก้ไขได้โดย LithoNutri

          ปัญหากรดเกินในกระเพาะ หรือ acidosis คือสภาวะกรดที่สะสมในกระเพาะรูเมนมากเกินไป ส่งผลทำให้ค่า pH ในกระเพาะรูเมนลดลงต่ำกว่า 5.5 ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมของกระเพาะรูเมน ส่งผลการมีชีวิตของจุลินทรีย์ มีผลต่อการย่อยอาหาร และมีผลเชิงลบต่อสุขภาพของโค โดยปัญหา acidosis นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อโคได้รับอาหารที่มีแป้งสูง เช่นอาหารข้น อาหารที่มีแป้งสูงนั้นจะมีกระบวนการหมักย่อยอาหารได้อย่างรวดเร็ว ที่เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ย่อยแป้ง เช่น Streptococcus bovis และ Lactobacillus จุลินทรีย์เหล่านี้จะผลิต VFA ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับโค แต่อย่างไรก็ตามระหว่างกระบวนการหมักของจุลินทรีย์กลุ่มที่ย่อยแป้งนั้นไม่ได้สร้าง VFA ที่เป็นประโยชน์เพียงอย่างเดียว แต่มีจะการผลิตกรดแลคติด (Lactic acid) ออกมาด้วย ซึ่งกรดแลคติคนี้จะส่งผลอย่างมากต่อการลดค่า pH ในกระเพาะรูเมน ดังนั้นหากฟาร์มมีการให้อาหารข้นในปริมาณมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสียงมากขึ้นที่จะทำให้โคเกิดปัญหา acidosis และไม่เพียงแค่อาหารข้น ปัญหา acidosis ยังอาจเกิดขึ้นได้ในโคได้รับอาหารหยาบจำพวกหญ้าอ่อน หญ้าหมัก หรือหญ้าที่มีการสับให้มีขนาดเล็กเกินไป จนโคไม่สามารถเคี้ยวเอื้องได้

          โดยปกติแล้วน้ำลายจากการเคี้ยวเอื้องจะเป็นตัวช่วยลดกรดตามธรรมชาติของโค เนื่องจากในน้ำลายมีไบคาร์บอเนต ที่มีความเป็นด่าง แต่เมื่อโคได้รับอาหารข้นมากเกินจนมีการสะสมกรดในกระเพาะรูเมนมากขึ้น หรือได้รับอาหารหยาบที่ย่อยง่ายเกินไปจนทำให้โคมีการเคี้ยวเอื้องที่ลดลง ก็อาจทำให้โคเกิดสภาวะ acidosis ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ

ภาพแสดงลักษณะของ Lithothamnium calcareum (สาหร่ายสีแดงตอนมีชีวิต, ตอนพร้อมเก็บเกี่ยว, เมื่อบดผง) ตามลำดับ

          LithoNutri เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากสาหร่ายทะเลสีแดง (Lithothamnium Calcareum) 100% สาหรายชนิดนี้ในช่วงที่มีชีวิตจะมีการสะสมของแคลเซียม แมกนีเซียม แร่ธาตุชนิดอื่นๆที่มีความจำเป็นมากต่อสัตว์กว่า 20 ชนิด ทำให้อุดมไปด้วยแร่ธาตุอินทรีย์ที่ดูดซึมได้ง่าย อีกทั้งยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นสารบัฟเฟอร์ หรือสารลดความเป็นกรดในกระเพาะรูเมนได้ดีกว่าโซเดียมไบคาร์บอเนตถึง 2 เท่า โดยจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการควบคุมค่า pH ในกระเพาะรูเมนของโคนมด้วยการใช้ LithoNutri และ โซเดียมไบคาร์บอเนต พบว่า กลุ่มของโคนมที่ได้รับการเสริม LithoNutri ในอาหารนั้นมีค่า pH ในกระเพาะรูเมนที่ต่ำกว่า 5.5 เป็นระยะเวลาเพียง 3.5 ชั่วโมง ในขณะที่ กลุ่มโคนมที่ได้รับการเสริมโซเดียมไบคาร์บอเนตนั้นมีค่า pH ในกระเพาะรูเมนที่ต่ำกว่า 5.5 เป็นระยะเวลามากถึง 7.5 ชั่วโมง ดังกราฟด้านล่าง (*โคที่เป็น acidosis จะมีค่า pH ในกระเพาะรูเมนที่ต่ำกว่า 5.5)

ภาพแสดงผลการเสริม LithoNutri (Lithothamnium)

เปรียบเทียบกับการเสริมโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicar) และการไม่ใช้สารปรับบัพเฟอร์ในอาหาร

สรุป : ปัญหา acidosis ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพ และประสิทธิภาพการผลิตของโค การเสริม LithoNutri เพิ่มเติมในอาหารจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ชวยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา รวมถึงผลกระทบที่มาจากปัญหา acidosis ได้ อีกทั้ง LithoNutri ยังมีส่วนประกอบแร่ธาตุอินทรีย์หลากหลายชนิด จึงมีส่วนช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการปรับปรุง และสร้างสมดุลสภาพแวดล้อมของกระเพาะรูเมน :

ผลิตภัณฑ์ยัสต์สกัดเข้มข้น Rumen yeast

ผลิตภัณฑ์สารดูดซับสารพิษจากเชื้อรา ZeniFix, BetaFix, StarFix และ MegaFix