กรดอินทรีย์ผสมในน้ำดื่ม อีกหนึ่งตัวช่วยในการควบคุมเชื้อไวรัส ASF

          โรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร (African swine fever : ASF) เป็นโรคไวรัสติดต่อร้ายแรงในสุกร โดยมีการพบการกระจายของโรคครั้งแรกที่แอฟริกาใต้และแอฟริกาตะวันออกเมื่อปี พ.ศ. 2464 จากนั้นได้มีการแพร่สู่ภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศจีนพบการระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2561 ซึ่งส่งผลให้ประชากรสุกรในประเทศจีนลดลงอย่างมาก และการแพร่ระบาดของโรคนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทยด้วย

          ถึงแม้ว่าโรคนี้ไม่ติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่ถือว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากมีการติดเชื้อแล้วจะกำจัดเชื้อออกไปได้ยาก เพราะเป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนต่อสิ่งแวดล้อมสูง และอาจทำให้มีการตายเฉียบพลันเกือบ 100% ส่วนสุกรที่หายป่วยจะเป็นพาหะได้ตลอดชีวิต ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรคนี้

          โดยทั่วไปอาการของสุกรที่เป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร จะพบ อาการไข้สูง นอนสุมกัน ท้องเสียเป็นเลือด ผิวหนังแดงเป็นจุดเลือดออกหรือรอยช้ำโดยเฉพาะใบหู ท้อง ไอ ขาหลังไม่มีแรง ในแม่สุกรพบอาการแท้ง หากสุกรแสดงอาการตามภาพที่ 1 มักมีอัตราการตายเกือบ 100% สำหรับอวัยวะภายในพบ ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต และมีจุดเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ม้าม และไต เป็นต้น

ภาพที่ 1 รอยโรคในสุกรที่เป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรแบบเฉียบพลัน

A     : สุกรอ่อนแออย่างเห็นได้ชัด มีไข้ และ

         นอนสุมกันเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

B-E : มีเลือดคั่งที่ผิวหนังบริเวณคอ อก และ

         แขนขา

F     : ปลายหูมีสีเขียว-น้ำเงินคล้ำ

G-I  : จุดเลือดออกบริเวณท้อง คอ และหู

ที่มา : AFRICAN SWINE FEVER: DETECTION AND DIAGNOSIS – A manual for veterinarians (FAO, 2017)

          การป้องกันการติดต่อของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรในปัจจุบันที่ได้ผลดีที่สุด คือ การใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ทั้งในสภาพแวดล้อม โรงเรือน อุปกรณ์ ยานพาหนะ และบุคลากร เป็นต้น สำหรับความเสี่ยงหลักในการแพร่กระจายเชื้อ คือ การสัมผัสกับตัวสุกร อาหาร และน้ำ จากการศึกษาของ Niederwerder et al. (2019) พบว่า ปริมาณเชื้อไวรัส ASF ที่ต่ำที่สุดที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางน้ำ คือ 100 TCID50 ส่วนการติดเชื้อทางอาหารอยู่ที่ 104 TCID50  แสดงว่าสุกรสามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าเมื่อมีการรับเชื้อผ่านทางน้ำเทียบกับการรับเชื้อผ่านทางอาหาร ซึ่งในบางครั้งความปลอดภัยทางชีวภาพของน้ำดื่มสำหรับสุกรนั้นยังไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าที่ควร

* TCID50 : Tissue culture infectious dose คือ ปริมาณไวรัสที่ทำให้เซลเพาะเลี้ยงครึ่งหนึ่งเกิดติดเชื้อ

          Kingly acid เป็นผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์รวมเข้มข้น สำหรับผสมในน้ำดื่มของสัตว์ มีคุณสมบัติในการลดค่า pH ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยในการส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์ โดยใช้ละลายในน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ที่ความเข้มข้น 0.1-0.2%  นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการลดค่า pH ในน้ำ ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมเชื้อก่อโรคที่มากับน้ำด้วย จากการศึกษาของ Yantai Jinhai Pharmaceutical Co., Ltd. (Shandong, China) ในปี ค.ศ. 2019 พบว่า Kingly acid ที่ความเข้มข้น 0.15% ทำให้เชื้อไวรัส ASF ที่มีความเข้มข้น 105 TCID50 ไม่สามารถเจริญได้ ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งเป็นการตรวจการมีอยู่ของเชื้อไวรัส ASF หลังจากเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF และเติม Kingly acid ที่ความเข้มข้นต่างๆ โดยตรวจด้วยวิธี Indirect immunofluorescence assay (IFA) ผ่านกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนส์ หากมีการเจริญของไวรัสจะปรากกฎเป็นสีเรืองแสง

ภาพที่ 2 ผล Indirect immunofluorescence assay (IFA) ของ Kingly acid ในการควบคุมการเจริญของเชื้อไวรัส ASF

A : ไม่มีการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF และไม่มีการใส่ Kingly acid

B: มีการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF ที่ความเข้มข้น 10TCID50 และมีการใส่ Kingly acid ที่ความเข้มข้น 0.15% (ไม่

     พบการเจริญของเชื้อไวรัส ASF)

C: มีการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF ที่ความเข้มข้น 10TCID50 ไม่มีการใส่ Kingly acid

D: มีการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF ที่ความเข้มข้น 105  TCID50 และมีการใส่ Kingly acid ที่ความเข้มข้น 0.11%

E: มีการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF ที่ความเข้มข้น 10TCID50 ไม่มีการใส่ Kingly acid

F: มีการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ASF ที่ความเข้มข้น 105 TCID50 และมีการใส่ Kingly acid ที่ความเข้มข้น 0.05%

ที่มา : Yantai Jinhai Pharmaceutical Co., Ltd. (2019)

สรุป : จากการผลการศึกษาพบว่า การใช้ Kingly acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดค่า pH ในน้ำ ช่วยในการควบคุมการเจริญของเชื้อไวรัส ASF ที่มากับน้ำ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ASF ในฟาร์มสุกรได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://novotekcorp.com/kingly-acid-pig/

ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการควบคุมเชื้อโรค และเสริมสุขภาพในฟาร์มสุกร :

  • ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบบผงสำหรับพ่นหรือโรยฆ่าเชื้อในโรงเรือน Stalosan F
  • ผลิตภัณฑ์ซีลีเนียมและวิตามินอี สำหรับละลายในน้ำดื่ม APSA Polivitsel

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการควบคุมเชื้อโรค และเสริมสุขภาพในฟาร์มสุกร :