ไก่ให้ไข่ดี ไม่มีท้องเสีย ด้วยกรดอินทรีย์ละลายในน้ำดื่ม
โรคต่างๆในไก่ไข่สามารถส่งผลเสียต่อการปริมาณผลผลิตไข่และคุณภาพของไข่ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางตรงคือโรคที่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ หรือในทางอ้อมคือโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพของไก่ไข่ ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดถุงลมอักเสบอาจส่งผลให้รังไข่และท่อนำไข่ติดเชื้อได้ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ที่ส่งผลให้ไก่เกิดอาการท้องเสีย ก็มีผลทำให้ไก่ไข่ให้ไข่ได้น้อยลงและคุณภาพไข่ลดลงได้เช่นเดียวกัน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเชื้อ Salmonella และEscherichia coli ที่มักพบได้ในการเลี้ยงไก่ไข่ และส่งผลกระทบต่อการให้ไข่
ภาพที่ 1 Salmonella
(ที่มา : https://www.biozentrum.unibas.ch/news/detail/a-catch-22-vaccine-against-salmonellosis)

Salmonella (ซัลโมเนลลา)
เชื้อซัลโมเนลลาที่เกี่ยวข้องในสัตว์ปีกส่วนใหญ่อยู่ในสปีชีส์ Salmonella enterica แต่มีซีโรวาร์ที่แตกต่างกันไป โดย S. Gallinarum (ก่อโรคไทฟอยด์) และ S. Pullorum (ก่อโรคขี้ขาว) ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดไก่ ส่วน S. Enteriditis และ S. Typhimurium ที่ก่อให้เกิดโรคพาราไทฟอยด์ในไก่ เป็นเชื้อที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์หากรับประทานเข้าไป
โดยทั่วไป ไก่ที่มีอายุน้อยจะไวต่อการติดเชื้อซัลโมเนลลามากกว่าไก่ที่โตเต็มที่แล้ว เริ่มแรกมักพบอาการท้องเสีย ส่วน S. Gallinarum และ S. Pullorum ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด จะส่งผลต่อผลผลิตไข่ที่ลดลง ตลอดจนทำให้ไก่ป่วย และเพิ่มอัตราการตาย (Shivaprasad, 2000) อีกทั้งสามารถพบการติดเชื้อในรังไข่ได้ (Berchieri et al., 2001) มีการศึกษาพบว่าการติดเชื้อ S. Enteritidis ยังเพิ่มอัตราการเกิดรอยร้าวบนไข่ด้วย (Guard-Bouldin and Buhr, 2006)
ภาพที่ 2 Escherichia coli
(ที่มา : https://time.com/5240137/cdc-e-coli-romaine-lettuce/)

Escherichia coli or E. coli (เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อี โคไล)
เชื้อ Escherichia coli เป็นสปีชีส์หนึ่งของจีนัส Escherichia ซึ่ง E. coli ทำให้เกิดโรคโคไลบาซิลโลซิส (Colibacillosis) ในสัตว์ปีกส่วนใหญ่ โดยไก่อายุน้อยจะมีความอ่อนไหวกับเชื้อมากที่สุด E. coli โดยปกติมักพบในลำไส้ของสัตว์ปีก และสามารถส่งผ่านไปยังไข่ได้ด้วยการปนเปื้อนของมูลไปยังผิวเปลือกไข่
E.coli ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ของไก่ไข่ เนื่องจากเป็นสาเหตุของการเกิดโรคโคไลบาซิลโลซิส ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดท่อนำไข่อักเสบ (Trampel et al., 2007) ปกติในสัตว์ปีกจะพบ E. coli ได้หลายซีโรไทป์ในสัตว์ปีก และมักทำให้ไก่มีอาการท้องเสีย และการเจริญเติบโตช้าลง แต่เฉพาะ APEC (Avian Pathogenic Escherichia coli) เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรครุนแรง และทำให้ท่อนำไข่และช่องท้องอักเสบ (Landman and Cornelissen, 2006)
ในน้ำดื่มของสัตว์นับว่าเป็นแหล่งในการแพร่เชื้อก่อโรคที่ผู้เลี้ยงอาจไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ดังนั้นการดูแลน้ำดื่มให้ปราศจากโรคก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ไก่ไข่ห่างไกลจากการได้รับเชื้อก่อโรคที่ส่งผลลบต่อทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบสืบพันธุ์ได้ Kingly acid เป็นผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์เข้มข้น สำหรับละลายในน้ำดื่มของสัตว์ ใช้สำหรับช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารของสัตว์ นอกจากนี้กรดอินทรีย์ยังมีประสิทธิภาพในการเพิ่มความเป็นกรดในน้ำ ทำให้น้ำนั้นไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อก่อโรคต่างๆ ได้ ช่วยให้ไก่ไข่มีสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี และเมื่อไก่มีสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถให้ไข่ได้ดี
จากการวิจัยของ Nanjing Agricultural University สาธารณรัฐประชาชนจีน ในไก่ไข่ 16,000 ตัว ที่อายุ 16 สัปดาห์ แบ่งเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มควบคุม ไม่มีการใช้สารเสริม
2. กลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid 1% ในน้ำดื่มทุกวัน เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน
3. กลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid 1% ในน้ำดื่มวันเว้นวัน เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน
4. กลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid 1% ที่ 16-18 สัปดาห์, 30-31 สัปดาห์ ทุกวัน เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน
จากผลการวิจัยที่อายุ 32 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่มีการเสริม Kingly acid แบบทุกวัน และแบบวันเว้นวัน มีอัตราการให้ไข่ น้ำหนักไข่ และ FCR ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้สารเสริม ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ผลของการใช้ Kingly acid ในไก่ไข่
กลุ่ม | อัตราการให้ไข่ (%) | น้ำหนักไข่ (กรัม) | การกินต่อตัว (กรัม/วัน) | FCR |
1. กลุ่มควบคุม | 85.31 | 43.54c | 158.3 | 4.32 |
2. Kingly acid ทุกวัน | 86.40 | 45.77a | 148.7 | 3.80 |
3. Kingly acid วันเว้นวัน | 85.75 | 44.91ab | 140.0 | 3.67 |
4. Kingly acid เป็นช่วง | 85.53 | 44.35bc | 164.0 | 4.33 |
*ตัวอักษร abc ที่แตกต่างกัน แสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : จากการผลการวิจัยพบว่า การใช้ Kingly acid ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์สำหรับละลายในน้ำดื่ม ช่วยให้ไก่ไข่มีอัตราการให้ไข่ที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักไข่ที่เพิ่มขึ้น และ FCR ลดลง จึงช่วยให้ผู้เลี้ยงมีกำไรที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงที่ลดลง
ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการบำรุงระบบสืบพันธุ์ และสุขภาพของไก่ไข่ :
♦ ผลิตภัณฑ์ซีลีเนียมและวิตามินอี สำหรับผสมอาหาร Selenium E10+
♦ ผลิตภัณฑ์ซีลีเนียมและวิตามินอี สำหรับละลายในน้ำดื่ม APSA Polivitesel
♦ ผลิตภัณฑ์พรีมิกซ์ไก่ไข่ สำหรับผสมอาหาร Agromix Layers No.23
♦ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย สำหรับผสมอาหาร ESO100
ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงระบบสืบพันธุ์ และสุขภาพของไก่ไข่ :
♦ หายสงสัย ทำไมต้องใช้สารเสริมแบบผสมน้ำ https://www.youtube.com/watch?v=IJvkFEYDMLo
♦ ต้องดู!! ไข่ดก ไข่นาน ทำยังไงดี? ใช้สารเสริมอะไรได้บ้างhttps://www.youtube.com/watch?v=9_VgZtDk40E
♦ สารเสริมช่วยย่อย “แบบผสมน้ำ” ดีกว่ายังไง? ต้องดู!! https://www.youtube.com/watch?v=MrYfTbYAzwI